วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สองของการเรียนในปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่1 กับรายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ โดยการสอนของอาจารย์อนิรุท ชุมสวัสดิ์ วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอวิธีการสอนที่อาจารย์ได้หมอบหมายให้แต่ละกลุ่มได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยวันนี้มีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ Belief of language teaching, Content based learning and Problem based learning.
Belief of language teaching ครูภาษาต้องตระหนักนักเรียนที่มาเรียนกับสันนิษฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาและว่าส่วนมากของอคติเหล่านี้สามารถต่อต้านการเรียนรู้ภาษา ในการบรรลุเป้าหมายนี้มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะจำการเรียนรู้ภาษาที่ไม่ได้เป็นเพียงความพยายามและองค์ความรู้ที่นักเรียนของคุณจะมีความหลากหลายของอารมณ์ที่แข็งแกร่งอาจจะเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา พวกเขาจะเข้าสู่ห้องเรียนของคุณด้วยแรงจูงใจที่แตกต่างกันของความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาและระดับความวิตกกังวล ในการที่จะช่วยให้ผู้เรียนภาษาจะประสบความสำเร็จเท่าที่เป็นไปได้ครูต้องช่วยให้นักเรียนของพวกเขารู้สึกสะดวกสบายในการใช้ทักษะการใช้ภาษาใหม่ของพวกเขาระบุและรักษาแรงจูงใจของการเรียนรู้ในเชิงบวกและพัฒนาความเชื่อจริงเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา
Content based learning วิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อ สาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหา พร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครู ไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา
Problem based learning การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดีมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถก้าวทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลก วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้
มี
3 กลไก คือ 1.การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก(Problem-based
Learning)
2.การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning)
3.การเรียนรู้ในกลุ่มย่อย(Small
Group Learning)
- สนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก (Deep Approach)
- สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- โจทย์ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้ จะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนกับการปฏิบัติงานในอนาคต
ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้สามารถจดจำได้ดีขึ้น
-ทั้งครูและผู้เรียนสนุกกับการเรียน
- ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานเป็นทีม
- ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
- การเรียนรู้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก
- ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide)
ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
- ปัญหาที่นำมาใช้มีลักษณะคลุมเครือ
ไม่ชัดเจน
ปัญหา
1 ปัญหาอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบหรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง (illed- structure problem)
- ผู้เรียนเป็นคนแก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่
ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
- ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ (authentic
assessment)
ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ ทำให้ฉันเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการนำเสนอผลงานของเพื่อน และได้เรียนรู้การเขียนเรียงความสรุปเป็นภาษาอังกฤษเมื่อเพื่อนอธิบายเสร็จ