วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Week#3---------Learning Log

Learning Log 3   ^-^  17  June 2013 ^-^
          วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สามของการเรียนในปีการศึกษา 2556  ภาคเรียนที่1 กับรายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ  โดยการสอนของอาจารย์อนิรุท ชุมสวัสดิ์ วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอวิธีการสอนที่อาจารย์ได้หมอบหมายให้แต่ละกลุ่มได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  โดยวันนี้มีดังนี้ Task Based Learning, Project Based Learning, Listening  Teaching, Speaking  Teaching, Reading  Teaching  and  Writing  Teaching

Task Based Learning
.....การจัดการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรม (Task Based Learning)การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในการเรียนการสอนโดยผ่านกระบวนการ นั้นมีอยู่หลายกระบวนการด้วยกัน แต่ผมจะขอยกตัวอย่างกระบวนการการจัดการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรม ซึ่งกระบวนการนี้เด็กจะได้ปฏิบัติและได้เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากทำกิจกรรมเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นโดยอัตโนมัติ
.....Task Based Learning คือ การจัดการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยงาน ในการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้มีจุดประสงค์ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด ทักษะ ทำความเข้าใจร่วมกันในกลุ่มและสื่อออกมาในลักษณะภาษาของผู้เรียนเอง ผู้จัดการเรียนรู้หรือผู้สอนจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของผลของการจัดกิจกรรม ว่าตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ ถ้ายังไม่ถูกต้องหรือยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ผู้จัดการเรียนรู้หรือผู้สอนต้องจัดให้ผู้เรียนมีการค้นคว้าให้ถูกต้องหรือชัดเจนยิ่งขึ้น และเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจร่วมกัน แสดงว่า ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้น ถือว่าประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ สำหรับกิจกรรมที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้แก่ โปสเตอร์ แผ่นพับ วีดีโอ ในด้านของผู้สอน ผู้สอนมีหน้าที่ในการกำหนดกิจกรรม ในลักษณะปลายเปิด เช่น มีรูปภาพให้นักเรียน 3 ภาพ คือ ทะเล ก้อนหิน คน แล้วให้นักเรียนแต่งเรื่องจากภาพทั้ง 3 ภาพเป็นภาษาอังกฤษ นักเรียนจะเกิดความคิดและจินตนาการที่แตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ แนวคิดหรือทักษะหลักๆ และเป็นการฝึกฝนความรู้รวมทั้งทักษะในลักษณะสร้างสรรค์ และการที่จะประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมนั้น ความมีส่วนร่วมของผู้เรียนมีความสำคัญอย่างมาก ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมและร่วมมือทำกิจกรรมสร้างสรรค์นั้นอย่างเต็มใจ โดยจะสะท้อนให้เห็นจากประสบการณ์ระหว่างการทำกิจกรรม



Project Based Learning

การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning)
......... การนำโครงงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนถือได้ว่าไม่ใช่สิ่งใหม่ในการจัดการศึกษา อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ผ่านมามีการนำมาใช้ได้ค่อยพัฒนาจนได้รับการยอมรับเป็นกลวิธีการสอนอย่างเป็นทางการ การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานได้เข้ามามีส่วนสำคัญในห้องเรียนเมื่อมีงานวิจัยมาสนับสนุนสิ่งที่ครูได้เชื่อมั่นมายาวนานก่อนหน้านี้ว่านักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมีโอกาสได้ค้นคว้าในสิ่งที่ซับซ้อน ท้าทายหรือในบางครั้งเป็นประเด็นปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะเป็นไปตามความสนใจของนักเรียน การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือล้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง (Thomas, 1998) มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมองได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะนี้ ศักยภาพในการรับรู้สิ่งใหม่ๆของนักเรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่มีความหมายและเมื่อนักเรียนได้รับความช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์กันด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown, & Conking, 2000, p. 23)

การเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไร
.........การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นรูปแบบวิธีสอนที่จะนำนักเรียนเข้าสู่การแก้ปัญหาที่ท้าทายและสร้างชิ้นงานได้สำเร็จด้วยตนเองโครงงานที่จะมาช่วยสร้างสภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนจะเกิดได้ในหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลายเนื้อหาและในหลายระดับช่วงชั้นโครงงานจะเกิดขึ้นบนความท้าทายจากคำถามที่ไม่สามารถตอบได้จากการท่องจำ โครงงานจะสร้างบทบาทหลากหลายขึ้นในตัวนักเรียน-เป็นผู้ที่แก้ปัญหา คนที่ตัดสินใจ นักค้นคว้า นักวิจัยโครงงานจะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงทางการศึกษา;ไม่ใช้สิ่งที่แปลกแยกหรือเพิ่มเติมลงไปในหลักสูตรเนื้อหาที่แท้จริง
การเรียนรู้ด้วยโครงงานเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าอย่างไร
.........การค้นคว้าจะเป็นการรวบรวมกิจกรรมหลากหลายที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเราในเรื่องความอยากรู้อยากเห็นที่มีต่อสิ่งรอบตัวการค้นคว้าจะมีความหมายเฉพาะเจาะจงในประเด็นทางการศึกษา ครูที่ใช้กระบวนค้นคว้าเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนจะกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถาม วางแผนดำเนินงานในการค้นคว้า การสังเกต และบอกสิ่งที่ค้นพบได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจจะเป็นได้มากกว่านั้นก็ได้ กิจกรรมการค้นคว้าในห้องเรียนอาจเกิดต่อเนื่องไปตลอดการเรียนรู้-จากการเรียนรู้แบบเดิมที่มีครูเป็นผู้ดำเนินการไปสู่การเรียนรู้ที่เปิดกว้างและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในสิ่งอื่นๆ ได้ (Jarrett, 1997)
เราอาจจะคิดว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงค้นคว้า มีงานวิจัยที่สรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยโครงงานไว้ว่าเป็นโครงงานจะเน้นให้ผู้เรียนสนใจในปัญหาหรือคำถามที่จะผลักดันให้เข้า ถึงแก่นของแนวคิดหรือหลักการนั้น (Thomas, 2000, p. 3) ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง (Thomas, 2000) โดยปกติแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้สร้างทางเลือกในการออกแบบโครงงานเอง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ตอบสนองต่อความสนใจใครรู้และความอยากรู้อยากเห็น และในการพยายามที่จะคำถามเหล่านั้น นักเรียนอาจได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่แม้แต่ครูเองก็ยังไม่ได้กำหนดไว้
ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบโครงงานมีอะไรบ้าง
.........การเรียนรู้ด้วยโครงงานจะมีประโยชน์ที่หลากหลายทั้งต่อครูและนักเรียน ในการที่จะช่วยสร้างองค์ความรู้จากการค้นคว้ามีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นที่รับรองว่าการเรียนรู้ด้วยโครงงานจะทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมลดการขาดเรียนเพิ่มทักษะในการเรียนรู้แบบร่วมมือและช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (George Lucas Educational Foundation, 2001)
สำหรับนักเรียนแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มีดังนี้
• เพิ่มอัตราการเข้าเรียน เสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และพัฒนาทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ (Thomas, 2000)
• เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นแล้ว ผลสัมฤทธิ์มค่าเท่ากับหรือสูงกว่า หากผู้เรียนได้มีส่วนรับผิดชอบในการทำโครงงาน (Boaler, 1997; SRI, 2000)
• เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาทักษะที่ซับซ้อน เช่น ทักษะการคิดขั้นสูง การแก้ปัญหา การทำงานแบบร่วมมือและการสื่อสาร (SRI, 2000)
• ให้โอกาสที่เปิดกว้างต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน มีการปรับใช้กลวิธีเพื่อรองรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Railsback, 2002)

.........การเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบนี้จะเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนหลายๆ คนจากการที่ได้รับประสบการณ์ตรง โดยจะได้รับบทบาทและใช้พฤติกรรมของผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการทำหนังสารคดีเกี่ยวกับอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การออกแบบแผ่นพับที่แนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นหรือสร้างงานนำเสนอเพื่อแสดงข้อดีข้อเสียของการก่อสร้างห้างสรรพสินค้า นักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกจริงๆ ที่มีความสำคัญนอกชั้นเรียน
.........ประโยชน์ที่ได้สำหรับครูที่นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพด้านวิชาชีพแล้วยังช่วยให้เกิดการทำงานแบบร่วมมือกับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งโอกาสที่จะได้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนด้วย (Thomas, 2000) นอกจากนั้นยังมีครูอีกมากที่รู้สึกยินดีที่ได้ค้นพบรูปแบบวิธีสอนที่เหมาะสมกับความหลากหลายของนักเรียนด้วยการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ในชั้นเรียนยังพบอีกว่านักเรียนที่จะได้ประโยชน์จากวิธีเรียนด้วยโครงงานมักจะเป็นนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการแบบเดิมไม่ค่อยได้ผลดีนัก (SRI, 2000)

วิธีสอนนี้เปลี่ยนแปลงการสอนในห้องเรียนแบบเดิมๆ อย่างไรบ้าง
.........โครงการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพครู Intel® Teach to the Future (2003) ได้กล่าวในงานนำเสนอเพื่อชี้แจงโครงการว่าห้องเรียนที่ครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน จะมี
• คำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องคำตอบเดียว
• มีบรรยากาศที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและการเปลี่ยนแปลง
• นักเรียนมีการตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
• นักเรียนได้ออกแบบวิธีการที่จะแก้ไขปัญหา
• นักเรียนมีโอกาสที่จะประเมินกิจกรรมที่ทำ
• มีการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
• มีผลผลิตในขั้นสุดท้ายและสามารถประเมินคุณภาพได้
.........สำหรับนักเรียนที่คุ้นเคยกับวิธีจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆจะพบว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานจากทำตามสั่งมาเป็นการทำงานที่กำหนดเป้าหมายด้วยตนเองจากการเน้นความจำและทำงานซ้ำๆมาเป็นการค้นคว้า การบูรณาการและการนำเสนอ จากการฟังและการตอบคำถามมาเป็นการสื่อสารและมีความรับผิดชอบ จากความรู้เชิงข้อเท็จจริงด้านเนื้อหามาเป็นความเข้าใจกระบวนการ จากการรู้ทฤษฎีมาเป็นการประยุกต์ใช้ จากการต้องพึ่งพาครูผู้สอนมาเป็นการพึ่งพาตนเอง (Intel, 2003)

ครูต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอะไรบ้าง
.........ครูที่นำการจัดการเยนรู้ด้วยโครงงานมาสู่ชั้นเรียนจำเป็นจะต้องนำเอากลวิธีการสอนใหม่ๆมาใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จนอกจากนี้นักวิชาการยังเห็นด้วยว่าครูควรปรับบทบาทจากผู้สอนหรือถูกสอนมาเพื่อสอนมาเป็นผู้ชี้แนะหรือผู้จัดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้มากกว่า
การสอนโดยตรงที่ต้องพึ่งพาตำราเรียน การสอนแบบบรรยายและการสอบแบบเดิมๆ อาจไม่ได้ผลตามที่คาดหากเทียบกับโลกแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกันหลายกลุ่มสาระ และถึงแม้ว่าครูจะทำหน้าที่เป็นโค้ชให้คำแนะนำแนวทางมากกว่าการบอกการสอน แต่ครูเองก็ต้องยอมรับข้อบกพร่องที่อาจเกิดขณะที่นักเรียนพยายามทำโครงงานให้สำเร็จ (Intel, 2003). ในขณะทำโครงงาน ตัวครูเองอาจพบว่าตัวเองก็กำลังเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียนได้เช่นเดียวกัน

สิ่งท้าทายที่ครูต้องเผชิญ อาจรวมถึง
• การจดจำถึงสถานการณ์ที่อาจนำมาทำเป็นโครงงานที่ดี
• ปัญหาที่อาจก่อให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้
• การร่วมมือกับเพื่อนครู่เพื่อบูรณาการข้ามกลุ่มสาระ
• การจัดการกระบวนการเรียนรู้
• การบูรณาการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
• การพัฒนาแนวทางในการประเมินตามสภาพจริง
.........ที่จริงแล้ว ตัวครูเองก็อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการที่จะเอาชนะความท้าทายตั้งแต่แรก การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารจะช่วยทำให้การนำไปใช้จริงมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การกำหนดระยะเวลาหรือการวางแผนร่วมกันและช่วยให้โอกาสในการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพแก่ครู

Listening Teaching

...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ

เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
...... การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฎิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

Pre-listening
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง

While-listening
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
......ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
......ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
......ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
......ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
......ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
Post-listening
......3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น

......การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน



Speaking Skill

......เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ( Speaking Skill) 
การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ( Vocabulary) ไวยากรณ์ ( Grammar) กระสวนประโยค (Patterns) ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน

......1. เทคนิควิธีปฎิบัติ 
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ
...... 1.1 การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น
พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill)
พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill)
พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill)
พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building)
พูดคำศัพท์ สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน (Rub out and Remember)
พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues)
พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue)
พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค ( Completing Sentences )
พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation)
ฯลฯ
......1.2 การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น
............ พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ
............ พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้
............ พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน
............ ฯลฯ
......1.3 การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น
พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation)
พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation)
พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด ( Describe and Draw)
ฯลฯ
การสอนทักษะการพูดโดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยสร้างเสริมคุณภาพทักษะการพูดของผู้เรียนให้พัฒนาขึ้น จากความถูกต้อง ( Accuracy) ไปสู่ ความคล่องแคล่ว ( Fluency) ได้ตามระดับการเรียนรู้ และ ศักยภาพของผู้เรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝนเอย่างสมำเสมอ และต่อเนื่อง ช่นเดียวกับการฝึกทักษะการฟัง


Reading Skill

.......การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ

เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skills)
การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษา อังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ

1. เทคนิควิธีปฎิบัติ 
1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
(1) Basic Steps of Teaching ( BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
- นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
- นักเรียนฝึกอ่านเอง
- สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading for Fluency ( Chain Reading) คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่ เช่น ครูเรียก Chain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3) Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4) Speed Reading คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว( Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5) Reading for Accuracy คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง ( Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิคSpeed Reading มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว( Fluency) ควบคู่กันไป
1.2 การอ่านในใจ ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

Pre-Reading
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
         ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
         ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น
ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฎในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ

While-Reading
2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
------Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
-------Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน ( Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
---------Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
----------Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
----------Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ( Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด ( True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง ( Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น ( Opinion)
Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)

Post-Reading
3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน

Writing Skill
     การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ( Writing Skill)
    การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน มากกว่าการมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำและหลักไวยากรณ์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเขียนเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความคล่องแคล่ว( Fluency) ในการสื่อความหมาย มากกว่าความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด
การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

 เทคนิควิธีปฎิบัติ
การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
..............1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น
Copying , เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกัน
Gap Filing เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
Re-ordering Words, เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน
Changing forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย
..............1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
Sentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
Describing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น
Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
Parallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน
..............1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
....... การสอนทักษะการเขียน โดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการเขียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการเขียนที่ดี จะนำไปสู่การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ